การพัฒนาเครื่องบินรบของไทย (ตอนที่ 2)
![](https://static.wixstatic.com/media/5a0786_cc175a250f56485a87947a8d769b0130.jpg/v1/fill/w_851,h_295,al_c,q_80,enc_auto/5a0786_cc175a250f56485a87947a8d769b0130.jpg)
จริงๆ ผมเคยเขียนยาวๆ ไว้แล้วแต่หาไม่เจอ ไม่เป็นไรครับ เขียนใหม่ได้ ไอเดียมันอยู่ในหัว
ก่อนที่จะฟันธง ก่อนจะด่าใครว่า กลัวไม่ได้ค่าคอมฯ ลองอ่านบทความตอนนี้ของผมนะครับ
เป็นข้อเท็จจริง อาจจะไม่ถูกใจ เอาเป็นว่าผมให้ข้อมูลไปคิดต่อเอาเองละกันนะครับ
มาต่อกันที่คำถาม Classic ทำไม ไทยถึงไม่พัฒนา และผลิตเครื่องบินขับไล่เอง
เครื่องบินฝึกพอทำได้ในงบที่จำกัด แต่กับเครื่องบินขับไล่ สมรรถนะสูง นี่มันอีกเรื่องเลยครับ
ก่อนอื่น ผมต้องขอตกตัวอย่าง Mitsubishi F-2 ที่ทาง ญี่ปุ่นซื้อสิทธิบัตร F-16 ของทาง Lockheed Martin มาพัฒนาต่อ ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มระยะปฏิบัติการ ราคาอยู่ที่ลำละ US$127 million เมื่อปี 2009 [Wiki] แต่ F-16C/D ราคาอยู่ที่ลำละ US$18.8 million เมื่อปี 1998 [Wiki] จะเห็นได้ว่า ราคาต่อลำแพงมากๆ
แม้จะสร้างถึง 94 ลำ และ เป็น ตัวต้นแบบ 4 ลำ
![](https://static.wixstatic.com/media/5a0786_22b6db7aaca24bf9a22a38f99218ac08.jpg/v1/fill/w_300,h_183,al_c,q_80,enc_auto/5a0786_22b6db7aaca24bf9a22a38f99218ac08.jpg)
ถ้าจะให้พัฒนาเองหมดเลยคงยากครับ ผมขอสมมุติอย่างง่ายๆ ละกัน ว่าเรามีเงินซื้อสิทธิบัตรของ Lockheed Martin มา เพื่อสร้าง F-16 (ขอยกตัวอย่างแบบนี้ก่อนนะครับ อย่าเพิ่งบอกว่ามันล้าสมัย)
![](https://static.wixstatic.com/media/5a0786_0e1c870eaebb487f81e7a2274842cfcf.jpg/v1/fill/w_300,h_207,al_c,q_80,enc_auto/5a0786_0e1c870eaebb487f81e7a2274842cfcf.jpg)
หลังจากได้สิทธิบัตรมาแล้ว ถ้าเราอยากจะสร้าง เราต้องมีอะไรบ้าง ผมขอแบ่งเป็นสองหัวข้อหลักๆ
1. คน
วิศวกรอากาศยาน กับงานด้านออกแบบ โดยรวม ระบบควบคุมการบิน
ระบบอาวุธ
วิศวกรด้านวัสดุศาสตร์ วัสดุที่ต้องทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรุนแรง
วิศวกรเครื่องกล - เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนต่างๆ
วิศวกรไฟฟ้า - ระบบ Power
วิศวกรวัดคุม - Sensor และ Display ต่างๆ และระบบ Electronics ทั้งหมด Programmer, Control และ User Interface
นักบินทดสอบ
ช่างเครื่องสาขาต่างๆ
2. โรงงาน อันนี้ต้องลงทุนทั้งหมด
โรงงานผลิตชิ้นส่วน ขึ้นรูป
โรงงานประกอบ
ลำตัว / Air intake
ปีก
แพนหางระดับ
แพนหางดิ่ง
Engine
Radar
Avionics
Weapons
Sensors
Cockpit & Display
Decoys
Lightning
IFF
Ejection Seat
Canopy
Etc.
3. ที่ทดสอบ
- อุโมงค์ลม ต้องลงทุนสร้างครับ
- ทดสอบระบบต่างๆ ก่อนขึ้นบิน
- สนามบินทดสอบ (อันนี้อาจใช้สนามบินที่มีอยู่แล้วได้)
คนพอสร้างได้ ให้ทุนไปเรียน ใช้เวลา สักพักใหญ่ๆ ไปเก็บประสบการณ์ น่าจะเป็นไปได้
สมมุติว่า โชคดีสุดๆ พัฒนาสำเร็จ
เอาล่ะ ทีนี้มาว่ากันต่อ เราจะผลิตกี่ลำดีครับ? ณ ปัจจุบัน 2015 เราได้รับอนุมัติ ให้ซื้อเครื่องบินฝึกชั้นสูงทดแทนของเก่าเพียงสีลำ เราอยากได้ JAS-39 อีก 6 ลำ มาให้ครบฝูง 18 ลำ แต่ก็ยังไม่ได้มีการอนุมัติงบประมาณแต่อย่างใด
อันนี้มีประเด็นครับ เพราะ ถ้าจะสร้างให้ราคาลำละ US $18,8 million จะต้องสร้างอย่างน้อย 100 ลำ ถ้าน้อยกว่านี้ ก็จะได้ บข. จำนวนน้อย แต่จ่ายแพง พอๆ กัน และเราจะทำอย่างไร กับ เครื่องบินจำนวนมหาศาลเหล่านี้ดีครับ ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงก็มี ค่าซ่อมบำรุงก็มี เรามีปัญญาจะจ่ายเงินมากมายขนาดนี้หรือเปล่า กลับมาว่ากันที่เรื่องการพัฒนานะครับ ถ้าพัฒนาไม่สำเร็จล่ะ หรือว่า ถ้าโครงการลากยาวล่ะ เช่น HAL Tejas ของอินเดีย ที่ใช้เวลาถึง สี่สิบกว่าปี นับจากได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลอินเดีย (1969) บินได้จริง 2001 และเพิ่งสร้างไป 16 ลำ รวมตัวต้นแบบ เมื่อ November 2014 หมดเงินไปมหาศาล และเวลาผ่านไปแล้ว 45 ปี...
![](https://static.wixstatic.com/media/5a0786_2522dbbf9fce46118a1cfea5fa1d8b8e.jpg/v1/fill/w_300,h_193,al_c,q_80,enc_auto/5a0786_2522dbbf9fce46118a1cfea5fa1d8b8e.jpg)
จะบอกว่าอย่าโลกสวยคิดว่ามันจะสำเร็จ โดยง่ายครับ ถ้าไม่สำเร็จขึ้นมา จะไปบอก ประชาชนผู้เสียภาษีว่าอย่างไรกันครับ? คนที่โจมตีเรื่องการใช้จ่ายเงินกับยุทโธปกรณ์ทางทหารก็มีไม่ใช่น้อย
อีกคำถามหนึ่งพัฒนาสำเร็จ บินได้ แต่ถึงเวลาจะใช้งานจริง กับภัยคุกคามต่างๆ ได้ไหมครับ มีใครกล้ารับประกันบ้าง?
สมมุติต่อว่า เราพัฒนาสำเร็จ และ ผลิตได้ 100 ลำ ซึ่งก็คงจะเต็มกลืนสำหรับงบประมาณแล้ว เพราะประเทศไทยมีงบทางทหาร 2% ของ GDP (หรือประมาณ 8-9% ของงบประมาณประจำปี) แบ่งกันสามเหล่าทัพ เป็นเงินเดือน เป็นค่าซ่อมบำรุงสถานที่ เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ, เครื่องแบบทหาร ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนยามเกิดภัยพิบัติ, และเหลือมาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เท่าไหร่กันเชียวครับ
หลังจากผลิต 100 ลำไปแล้ว โรงงานที่ลงทุนไปจะทำอย่างไรครับ? คนเก่งๆที่สร้างมา จะจ้างเขาต่อไหม? ถ้าบอกว่าจะผลิตเพื่อขาย คุณกำลังสู้กับ Lockheed Martin, Northrop Grumman, SAAB, Chenyang, Chengdu, Sukhoi, MiG, ฯลฯ คุณคิดว่า คุณมีดีอะไร และทำไม ลูกค้าต้องซื้อคุณครับ? คุณภาพ? ราคา? ความน่าเชื่อถือ?
ฝากให้คิด แต่ผมขอยกคำของท่าน Analoyo แห่ง TAF มานิดนะครับ ถ้าอยากได้แค่ความภูมิใจว่าสร้างเอง เอาเงินไปทำอย่างอื่นเพื่อพัฒนาประเทศดีกว่าครับ แต่ถามว่า เราจะงอมืองอเท้า เอาแต่ซื้อเขาอย่างเดียวไหม อันนี้ก็ สุดโต่งเกินไปครับ เพราะทาง ทอ. วิจัยพัฒนา และใช้งาน อากาศยานไร้คนขับมา 20 ปี ได้แล้วครับ นอกจากนี้ ก็มี บ. ทอ. ๖ ที่สร้างเอง พัฒนาเอง โดยกรมช่างอากาศ ทอ. รวมถึงการสร้าง Simulator สำหรับฝึกบิน เองด้วยครับ และโครงการพัฒนา เชื้อเพลิงไว้ใช้เองอีก ฯลฯ เท่าที่ได้สัมผัสมา เหล่าเสนาธิการทอ. คิดกันมาเป็นอย่างดี ครับ ว่าอันไหน ควรซื้อ อันไหนต้นทุนไม่สูงมาก พัฒนาได้ก็พัฒนาเอง เป็นการเสริมสร้างบุคคลากร คุณภาพ และลดภาระค่าใช้จ่ายของกองทัพได้ครับ
ผมคิดว่า ผมให้ข้อมูล มามากพอแล้ว ที่เหลือ ก็อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละท่านเองแล้วครับ ว่า จะเลือกที่จะคิดอย่างไร ไม่ต้องเชื่อผมนะครับ ไปช่วยกันค้นหาข้อมูลที่ละเอียด ในแต่ละเรื่อง แล้วไปคุยกันที่ Facebook
สมาคมคนบ้าเครื่องบินก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ ที่อ่านมาจนจบ
Shika Lacy
Reference
http://en.wikipedia.org/wiki/HAL_Tejas
http://en.wikipedia.org/wiki/Mitsubishi_F-2
http://en.wikipedia.org/wiki/General_Dynamics_F-16_Fighting_Falcon